คำถามที่พบบ่อย

ด้านล่างนี้คือคำถามที่คนทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ต้องการรู้

การทำเว็บไซต์ไม่มีราคาตายตัว เนื่องจากการทำเว็บไซต์มีรายละเอียดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาเว็บไซต์จะคำนวณบนพื้นฐานของความยากง่ายและระยะเวลาในการทำงาน ดังนั้นหากลูกค้าต้องการทราบราคาเว็บไซต์ที่ชัดเจนควรระบุความต้องการ (Requirement) ที่ชัดเจน แต่ผมก็เข้าใจว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกความต้องการทั้งหมดได้ วิธีที่ช่วยได้มากก็คือ “การส่งตัวอย่างเว็บไซต์ที่ต้องการมาให้ประเมินราคา” วิธีนี้จะช่วยประเมินราคาได้ง่ายขึ้นครับ 🙂

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณ”ราคาเว็บไซต์” และลอง คำนวณราคาเว็บไซต์ด้วยตนเอง คลิกที่นี่

โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์จะมี 3 ส่วน ดังนี้

1. ค่าโดเมน (Domain) โดเมนคือชื่อเว็บไซต์ เช่น www.abc.com
โดยปกติแล้วค่าโดเมนจะ“คิดเป็นรายปี” ประมาณ 500 บาท/ปี (*หมายเหตุ: จริงๆแล้วค่าโดเมนมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับชื่อนั้นๆ ยิ่งตัวอักษรน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งแพงเท่านั้น)

2. ค่าโฮสติ้ง (Hosting) โฮสติ้งคือพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์ ค่าโฮสติ้งก็“คิดเป็นรายปี”เช่นกันปัจจุบันโฮสติ้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ “Web Hosting” และ “Cloud Hosting” ค่าใช้จ่ายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของโฮสติ้งและผู้ให้บริการ

สำหรับเว็บไซต์ทั่วไปค่าใช้จ่ายโดยประมาณดังนี้
– Web Hosting เริ่มต้นปีละ 1,500 บาท
– Cloud Hosting เริ่มต้นเดือนละ 450 บาท

3. ค่าทำเว็บไซต์ (Website) โดยปกติค่าทำเว็บไซต์จ่ายเพียงครั้งเดียว ไม่มีค่าบริการรายปี แต่ในบางกรณีหากลูกค้าต้องการบริการดูแลเว็บไซต์ด้วย (maintenance) ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายรายปีแยกต่างหากด้วย

ทำไมต้องดูแลเว็บไซต์ด้วย? ทำเสร็จแล้วไม่ต้องดูแลไม่ได้หรอ?

คำตอบคือ
ได้ครับ…แต่ อาจเจอปัญหาในระยะยาวได้ เพราะการทำเว็บไซต์เป็นเรื่องของเทคโนโลยีครับ แล้วเทคโนโลยีมีการพัฒนาทุกวัน จาก 2G ไป 3G ไป 4G และในอนาคตก็จะมีอีกหลาย G ถ้าเว็บไซต์ของคุณทำตั้งแต่สมัย 2G คุณคิดว่าเว็บไซต์ของคุณยังจะใช้ได้ดีหรือไม่?

แล้วการดูแลเว็บไซต์ทำอะไรบ้าง?

การดูแลเว็บไซต์คือการคอยดูแลให้เว็บไซต์พร้อมใช้งานอยู่เสมอและแก้ปัญหาในกรณีที่เจอเหตุการไม่คาดคิด มีรายละเอียดดังนี้
– การอัพเดทซอฟแวร์ประจำ (Update Software)
– การตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ (Firewall)
– การตรวจสอบไวรัสและจัดการก่อนเสียหาย (Anti-Virus)
– การสำรองข้อมูลประจำ Backup (Backup)

*หมายเหตุ 1: การป้องกันการโจมตีและไวรัสทางไซเบอร์ไม่มีการการันตีได้ 100% ดังตัวอย่างที่เราเคยเห็นเว็บไซต์ใหญ่ๆโดนแฮคข้อมูลอยู่บ้าง แต่การดูแลเว็บไซต์จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันได้ระดับนึง

*หมายเหตุ 2: การดูแลเว็บไซต์ไม่ได้รวมถึงการโพสท์ข้อมูลในเว็บไซต์ เช่น บทความหรือสินค้า หน้าที่ส่วนนั้นเป็นหน้าที่ของ Web Master ครับ

ผมใช้ WordPress เป็น Core ในการพัฒนาเว็บไซต์ ทุกเว็บออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ได้ใช้ธีมสำเร็จรูปในการพัฒนา แต่ผมมีธีมและปลั๊กอินระดับ Premium มาช่วยเสริมประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ทำงานได้ดีขึ้น

สาเหตุที่เลือกใช้ WordPress ในการพัฒนาเว็บไซต์?

เดิมที่ผมเรียนรู้การทำเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML และ CSS ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานในการทำเว็บไซต์ ซึ่งกระบวนการในการทำเว็บไซต์ด้วย HTML และ CSS จะใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นการเขียนเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ทำให้ต้องใช้ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูง ไม่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณไม่มาก

แต่ WordPress เป็นเครื่องมือ CMS (Content Management System) รูปแบบ Open source ที่มีนักพัฒนาทั่วโลกช่วยกันพัฒนาร่วมกัน จนปัจจุบัน WordPress ได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถสร้างเว็บไซต์ได้หลายประเภท และยังสามารถต่อยอดเพิ่มฟังชั่นเพิ่มเติมได้

ข้อมูลในเว็บไซต์มีทั้งส่วนที่ลูกค้าแก้ไขเอง “ได้” และ “ไม่ได้”

ข้อมูลในหน้าเว็บไซต์โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภทครับ คือ Static Page และ Dynamic Page ครับ ส่วนที่ลูกค้าแก้ไขได้คือส่วนของ Dynamic Page ครับ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Static Page และ Dynamic Page

เว็บไซต์แต่ละประเภทก็ใช้ข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ผมขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ทั่วไปให้ดูดังนี้ครับ 

1. ชื่อธุรกิจ (Business Name)
2. ประวัติความเป็นมา จุดเด่นที่ต้องการจะสื่อสาร (About)
3. ข้อมูลเกี่ยวกับบริการ service เช่น รายละเอียดของแต่ละบริการ ราคา อื่นๆ
4. ตัวอย่างลูกค้า (ถ้าต้องการ)
5. ขั้นตอนการสั่งซื้อและการจัดส่ง (How to Order and Shipping)(ถ้ามี)
6. คำถามที่พบบ่อย (FAQ) (ถ้ามี)
7. ช่องทางการติดต่อทุกช่องทาง (Facebook, Line, Tiktok etc.)